เมนู

พระสุคตพระนามว่า ภควา เพราะ
ทรงละจักรพรรดิสิริ ยศ อิสริยะ สุข
และการสะสมโลก.


7. ทรงคายภาคธรรม


พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรง-
คายภาคธรรมเป็นอย่างไร ? คือ ชื่อว่า ภาคะ ได้แก่ โกฏฐาสทั้งหลาย.
โกฏฐาสเหล่านั้นมีหลายอย่าง ด้วยอำนาจขันธ์ อายตนะ ธาตุเป็นต้น แม้ขันธ์
อายตนะ ธาตุเป็นต้นนั้น ก็มีโกฎฐาสหลายอย่าง ด้วยอำนาจขันธ์มีรูป
เวทนาเป็นต้น และด้วยอำนาจขันธ์ที่เป็นอดีตเป็นต้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงตัดขาดกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้าทั้งหมด (ปปัญจะ) กิเลสเครื่องประกอบ
ไว้ทั้งหมด (โยคะ) กิเลสเครื่องรัดรึง (คัณฐะ) ทั้งหมด กิเลสเครื่องผูกมัด
ไว้ทั้งหมด (สังโยชน์) ได้แล้ว จึงบรรลุอมตธาตุ ทรงคายขยอกทิ้งภาค-
ธรรมเหล่านั้นโดยมิทรงใยดี คือ ไม่เสด็จหวนกลับมาหาภาคธรรมเหล่านั้น.
จริงอย่างนั้น พระองค์ทรงคาย ขยอก สลัด ทิ้งส่วนแห่งธรรมทั้งหมดทีเดียว
โดยไม่มีส่วนเหลือ แม้ด้วยการจำแนกธรรมไปตามลำดับบทมีอาทิ คือ ปฐวี
อาโป เตโช วาโย ซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่งทีเดียว จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา
กาย มนะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ จักษุวิญญาณ ฯลฯ
มโนวิญญาณ จักษุสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส จักษุสัมผัสชาเวทนา ฯลฯ มโน-
สัมผัสชาเวทนา จักษุสัมผัสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสชาสัญญา จักษุ
สัมผัสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสชาเจตนา รูปตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหา
รูปวิตก ฯลฯ ธรรมวิตก รูปวิจาร ฯลฯ ธรรมวิจาร ทั่วถ้วนทุกอย่าง. สมจริง
ดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ ดังนี้ว่า อานนท์ สิ่งใดที่ตถาคตสละแล้ว คายแล้ว

พ้นแล้ว ละได้แล้ว สละคืนแล้ว ตถาคตจักกลับมาหาสิ่งนั้นอีก เรื่องนี้ไม่ใช่
ฐานะจะมีได้. พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า
ทรงคายภาคธรรม ดังว่ามานี้.
อีกประการหนึ่ง บทว่า ภาเค วมิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงคาย ขยอก สละ ทิ้งธรรมทั้งหมด คือ กุศลธรรมและอกุศลธรรม
ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ ธรรมที่เลวและประณีต ธรรมที่มีส่วนเปรียบ
ด้วยธรรมดำ และธรรมขาว ทางพระโอษฐ์คืออริยมรรคญาณ และทรง
แสดงธรรมเพื่อความเป็นอย่างนั้น แก่บุคคลเหล่าอื่น. สมจริงดังพระดำรัสที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย แม้ธรรมทั้งหลายเธอก็
ต้องละ จะป่วยกล่าวไปไยถึงอธรรมเล่า ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจึงแสดงธรรม
เปรียบด้วยแพแก่เธอทั้งหลาย เพื่อต้องการให้ถ่ายถอน มิใช่เพื่อให้ยึดถือ
เป็นต้น. พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคาย
ภาคธรรม แม้ดังพรรณนามาฉะนี้.
เพราะเหตุที่ธรรมดำและธรรมขาว
ซึ่งแยกประเภทออกเป็น ขันธ์ อายตนะ
ธาตุเป็นต้น อันพระพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหา
พระคุณอันยิ่งใหญ่ทรงคายได้แล้ว ฉะนั้น
พระองค์จึงได้รับขนานพระนานว่า ภควา.

ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า
พระชินเจ้าทรงพระนามว่า ภควา
เพราะหมายความว่า ทรงมีภาคธรรม ทรง
อบรมพุทธกรธรรม ทรงเสพภาคธรรม
ทรงมีภคธรรม ทรงมีคนภักดี ทรงคาย

ภคธรรม ทรงคายภาคธรรม.
อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.

ความหมายของ อรหํ


บทว่า อรหตา ความว่า อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ชื่อว่า เป็น
พระอรหันต์ เพราะเหตุเหล่านี้คือ เพราะทรงห่างไกลจากกิเลสทั้งหลาย 1
เพราะทรงทำลายข้าศึกคือกิเลสไม่มีส่วนเหลือ 1 เพราะทรงทำลายซี่กำแห่ง
สังสารจักร 1 เพราะทรงควรแก่ปัจจัยเป็นต้น 1 เพราะไม่มีความลับ ในการ
ทำบาป 1. นี้คือความย่อในบทนี้ ส่วนความพิสดารพึงทราบตามนัยที่กล่าว
แล้วในวิสุทธิมรรคเถิด.
อนึ่ง ในอธิการนี้พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ ด้วยบทว่า ภควตา นี้
ท่านแสดงถึงความถึงพร้อมด้วยพระรูปกาย อันไม่สาธารณ์แก่บุคคลอื่น
ประดับ ด้วยมหาปุริสลักษณะ 32 ประการ อนุพยัญชนะ 80 และพระเกตุมาลา
มีรัศมีแผ่ไปได้ประมาณ 1 วา ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้ชื่อว่าทรงบุญ-
ลักษณะไว้ตั้ง 100 เพราะทรงมีบุญสมภารที่ทรงสั่งสมไว้หลายอสงไขยกัป
ด้วยการแสดงว่าพระองค์ทรงคายภาคยธรรมได้แล้ว. ด้วยบทว่า อรหตา นี้
ท่านแสดงถึงความถึงพร้อมด้วยพระธรรมกายที่เป็นอจินไตย อาทิ พลญาณ 10
เวสารัชชญาณ 4 อสาธารณญาณ 6 และอาเวณิกพุทธธรรม (ธรรมเฉพาะ
พระพุทธเจ้า) 18 เพราะแสดงการบรรลุสัพพัญญุตญาณมีการสิ้นอาสวะเป็น
ปทัฏฐาน โดยการแสดงการละกิเลสที่ไม่มีส่วนเหลือด้วยบททั้งสอง ท่านแสดง
ถึงความที่พระองค์อันนักปราชญ์ชาวโลกนับถือมาก 1 ความที่พระองค์อัน
คฤหัสถ์และบรรพชิตพึงเข้าไปหา 1 ความที่พระองค์ทรงสามารถในการบำบัด
ทุกข์ทางกาย และทางใจของคฤหัสถ์ และบรรพชิตเหล่านั้น ผู้เข้าไปหา 1